Join Generation Thailand as a Delivery Partner and Observer Partner today!
Jump to: Delivery Partner | Observer
พาร์ทเนอร์ในการขยายผล (DELIVERY PARTNER)
ตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ องค์กรเจเนเรชั่น ประเทศไทย (Generation Thailand) ดำเนินการโครงการพัฒนาทักษะเพื่อการจ้างงานตามความต้องการของประเทศ โดย GenNX Model โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาบุคลากรเพื่อการจ้างงาน รวมถึงพัฒนาวิทยากรผู้ให้การฝึกอบรมให้สามารถดำเนินการพัฒนาบุคลากรที่ตรงกับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศโดยมีทักษะอาชีพด้านดิจิทัลเป็นเป้าหมายหนึ่งของโครงการ นั้น
เจเนเรชั่น มีความยินดีที่จะประกาศเปิดรับสมัครให้สถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยที่สนใจยื่นข้อเสนอ (Request for Proposal: RFP) เพื่อเข้าร่วมกระบวนการคัดเลือกการเป็นพาร์ทเนอร์ในการขยายผล (Delivery Partner: DP) ที่จะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างเต็มรูปแบบและสามารถดำเนินการได้เหมือนเจเนเรชั่น โดยคัดเลือกจากสถาบันการศึกษาในประเทศ สำหรับโครงการฝึกอบรมทักษะทางอาชีพที่จะนำไปสู่การจ้างงานในหลักสูตรนักพัฒนาซอฟท์แวร์ (Junior Software Developer)
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- ถาบันพาร์ทเนอร์ในการขยายผลที่ถูกรับคัดเลือกและได้รับการถ่ายทอดความรู้จากเจเนเรชั่นผ่านการดำเนินงานร่วมกัน จะได้ประสานงานกับภาคเอกชนในการวิเคราะห์ความต้องการทักษะในอุตสาหกรรมเทียบกับจำนวนบุคคลากรในตลาดแรงงาน กำหนดกลุ่มเป้าหมายทักษะอาชีพ สถานประกอบการและนายจ้าง และคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างเต็มรูปแบบด้านการดำเนินการเหมือนเจเนเรชั่น และสามารถขยายผลการทำงานในรูปแบบของเจเนเรชั่นในระยะยาวได้ โดยอาจมีการขอความเห็นจากเจเนเรชั่นในการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการฝึกอบรม
แผนการถ่ายทอดองค์ความรู้ในสาขาอาชีพเทคโนโลยีดิจิทัล ในช่วงการดำเนินการทั้งหมด
สำหรับทั้ง 3 รุ่น ดังนี้
- ช่วงนำร่อง (Pilot Phase)—JSD รุ่นที่ 3 ที่เจเนเรชั่น จะเป็นผู้ดำเนินการหลักโดยมีสถาบัน Delivery Partner เป็นผู้สังเกตการณ์ในทุกขั้นตอนสำคัญและมุ่งเน้นในเรื่องการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของเจเนเรชั่น สำหรับผู้เรียน
- ช่วงดำเนินการร่วม (Coaching Phase)—JSD รุ่นที่ 4 ที่สถาบัน Delivery Partner จะเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ ตัดสินใจ และดำเนินการร่วมกับเจเนเรชั่น ในทุกขั้นตอน
- ช่วงขยายผล (Partner-led Delivery Phase)—JSD รุ่นที่ 5 ที่สถาบัน Delivery Partner จะเป็นผู้บริหาร และดำเนินการทุกขั้นตอนด้วยตัวเอง โดยที่เจเนเรชั่น จะทำหน้าที่เสมือนเป็นที่ปรึกษาและดูแลกำกับคุณภาพ
หากองค์กร/หน่วยงานมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- มีองค์ความรู้และประสบการณ์ในการจัดการสอนแบบ adult learning เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
- มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งผู้สอนหลัก (Instructor) และผู้ช่วยสอน (Teaching Assistant: TA)
- มีสถานที่และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการสอนทั้งออนไลน์และออฟไลน์
- มีความพร้อมในการจัดฝึกอบรมในลักษณะ Bootcamp โดยอบรมตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์เต็มเวลาภายในระยะเวลา 12 – 16 สัปดาห์ต่อรุ่น จำนวนผู้เรียน 30-60 คนต่อรุ่น ทั้งหมดประมาณ 4 รุ่นในระยะเวลา 13 เดือนนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564
รูปแบบของข้อเสนอสำหรับพาร์ทเนอร์ในการขยายผล (Delivery Partner: DP) ฉบับย่อ
สถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยที่สนใจ สามารถส่งรูปแบบของข้อเสนอรายละเอียดฉบับย่อของสิ่งที่ต้องระบุในข้อเสนอดังนี้
- หน้าปก (Cover Page)
- บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)
- รายละเอียดที่แสดงถึงคุณสมบัติของการเป็น Delivery Partner (Qualification and Readiness)
- แผนการจัดการทรัพยาการบุคคล และการเรียนการสอน (Resource and Operational Plan)
- แผนงบประมาณ (Budget Plan)
- ความตั้งใจและแผนการดำเนินงานในอนาคตหลังจากจบโครงการนำร่อง (Intention and future
work plan) - สิ่งที่คาดหวังจากการเป็นพาร์ทเนอร์ขยายผล (Expectations)
- ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษา (Organizational Detail)
มาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ในการขยายผลกับเจเรชั่นได้แล้ววันนี้!
เจเนเรชั่นจะปิดรับการยื่นข้อเสนอ (RFP) สำหรับพาร์ทเนอร์ขยายผลในวันที่ 3 มิถุนายน 2565
สามารถดาวน์โหลดเอกสารและรายละเอียดฉบับสมบูรณ์เพื่อทำการยื่นข้อเสนอได้ที่นี่
พาร์ทเนอร์สังเกตการณ์ (OBSERVER)
ประกาศเปิดรับสมัครให้สถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยที่สนใจยื่นข้อเสนอ (Request for Proposal: RFP) เพื่อเข้าร่วมกระบวนการคัดเลือกการเป็นพาร์ทเนอร์สังเกตการณ์ (Observers) สำหรับสถาบันที่สนใจจะเป็น Delivery Partner แต่ยังไม่พร้อมในการจะสมัครหรือขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง สถาบันการศึกษาสามารถสมัครเข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ (Observers) กิจกรรมของโครงการ และขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ ในการจัดฝึกอบรมของเจเนเรชั่น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่อนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งทางเจเนเรชั่นจะแจ้งผู้สังเกตการณ์ล่วงหน้าถึงช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมที่ควรเข้ามาสังเกตการณ์และ/หรือเข้าร่วมกิจกรรม
หลักการในการคัดเลือกสถาบันสังเกตการณ์จะคำนึงถึง
- ความสนใจที่จะเป็น Delivery Partner แต่ไม่ได้รับเลือกหรือยังขาดคุณสมบัติความพร้อมด้านใดด้านหนึ่ง
- มีบุคลากรที่มีความพร้อมในการเข้าร่วมสังเกตการณ์ในกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมด 4 ด้าน คือ ด้านสถานประกอบการณ์และภาคเอกชน ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านการจัดการผู้เรียน และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น การทำการตลาด หรือ การจัดการให้คำปรึกษา (Mentorship) เป็นต้น
- มีความพร้อมในการสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้จากการสังเกตการณ์ และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยจะได้รับคำแนะนำจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และข้อบ่งชี้ และวิธีการปฏิบัติงานจากเจเนเรชั่น
ตัวอย่างกิจกรรมบางส่วนสำหรับการสังเกตการณ์เพื่อถอดบทเรียน โดยมีข้อกำหนดจำนวนผู้เข้าสังเกตุการณ์ที่ 2 – 4 คน ตามความเหมาะสมของกิจกรรม
- การสรรหากำหนดขอบเขตของนายจ้างและผู้เรียน (Role Scoping)
- การออกแบบโครงสร้างกิจกรรมสำหรับงาน (Activity Mapping & Curriculum Development)
- การสรรหา และติดต่อนายจ้าง (Employer Engagement)
- การสรรหาและติดต่อกลุ่มผู้เรียน (Learner Recruitment)
- การฝึกอบรมผู้สอน(Instructors Training)
- การจัดหางาน (Placement)
- การติดต่อกับศิษย์เก่า (Alumni engagement)
รูปแบบของข้อเสนอสำหรับพาร์ทเนอร์สังเกตการณ์ฉบับย่อ (Observer)
สำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่สนใจยื่นข้อเสนอเป็นพาร์ทเนอร์สังเกตการณ์ (Observer) สามารถส่งรูปแบบของข้อเสนอ โดยรายละเอียดฉบับย่อของสิ่งที่ต้องระบุในข้อเสนอดังนี้
- หน้าปก (Cover Page)
โดยระบุ “พาร์ทเนอร์สังเกตการณ์ (Observer) สำหรับสายงานดิจิทัลในโครงการพัฒนาทักษะเพื่อการจ้างงานตามความต้องการของประเทศ โดย GenNX Model” พร้อมระบุรุ่นและเวลาที่สนใจดังนี้
รุ่น | วัน/เดือน/ปี |
2 | 30 พ.ค. – 26 ส.ค. 65 |
3 | 25 ก.ค. – 21 ต.ค. 65 |
4 | 7 พ.ย. 65 – 1 ก.พ. 66 |
5 | มี.ค. – มิ.ย. 66 |
*หมายเหตุ: รายละเอียดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์และความเหมาะสม
- บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)
- รายละเอียดที่แสดงถึงคุณสมบัติของการเป็นพาร์ทเนอร์สังเกตการณ์ (Qualification and
Readiness) - แผนการจัดการทรัพยาการบุคคลเพื่อเข้าร่วมสังเกตการณ์ (Human Resource Plan)
- ความตั้งใจและแผนการดำเนินงานในอนาคตหลังจากจบโครงการนำร่อง (Intention and future
workplan) - สิ่งที่คาดหวังจากการเป็นพาร์ทเนอร์สังเกตการณ์ (Expectations)
- ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษา (Organization Detail)
มาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์สังเกตการณ์กับเจเรชั่นได้แล้ววันนี้
เจเนเรชั่นจะปิดรับการยื่นข้อเสนอ (RFP) สำหรับการสมัครเป็นพาร์ทเนอร์สังเกตการณ์ของรุ่นที่ 3 4 หรือ 5 ในวันที่ 3 มิถุนายน 2565
สามารถดาวน์โหลดเอกสารสำหรับการยื่นข้อเสนอได้ที่นี่